วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง

พระราชดำรัส ใครว่าเราเชยก็ช่างเขา

ขอให้เราพออยู่พอกินและมีไมตรีจิตต่อกัน

เชย = ไม่โมเดิร์น

พออยู่พอกิน = พอเพียง ไม่จนกันทั่วหน้า

โมเดิร์น หมายถึง เศรษฐกิจกระแสหลักที่สร้างความร่ำรวย

เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นทั้ง

๑) แนวทาง ที่ไม่ใช่แนวทางสร้างความร่ำรวย แต่เป็นแนวทางแห่งความพอเพียง หรือแนวทางขจัดความยากจน

๒) บอกสภาพว่าหายจนกันทั่วหน้า พออยู่พอกิน

๓) ไม่ใช่เฉพาะเศรษฐกิจแบบตัวใครตัวมันเท่านั้น แต่เป็นสังคมที่มีไมตรีจิตต่อกันด้วย

เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็น ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนิน ชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ

อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่หลากหลายและไม่ชัดเจน ถึงความหมายและหลักแนวคิดที่แท้จริงของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้จัดทำหนังสือเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไรขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะอธิบายความหมายของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งกรอบแนวคิดของหลักปรัชญาฯ ที่มุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะ ที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ตลอดจนได้อธิบายคำนิยามของความพอเพียง ที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม

ลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงจึงมีความพอเพียง ๕ ดังนี้

(๑) เศรษฐกิจพอเพียง

หายจน พออยู่พอกินถ้วนหน้า

(๒) สังคมพอเพียง

คิดถึงการอยู่ร่วมกัน ไม่ใช่ตัวใครตัวมัน มีไมตรีจิตต่อกัน เป็นสังคม รู้รักสามัคคี ไม่เบียดเบียนและทำร้ายกัน

(๓) ทรัพยากรธรรมชาติพอเพียง

อนุรักษ์และเพิ่มพูนทรัพยากรธรรมชาติ มีการใช้อย่างเป็นธรรม และยั่งยืน

(๔) มีปัญญาพอเพียง

ไม่โลภ มีไมตรีจิต พึ่งตนเอง วิริยะ อนุรักษ์ทรัพยากร

(๕) มีระบบการศึกษาที่สร้างปัญญาพอเพียง (มหาวิชชา) อย่างต่อเนื่อง

ต้องมีระบบการศึกษาที่ป้องกันคนกลับไปตกอยู่ในโมหภูมิอีก การมีแค่มหาวิทยาลัยสอนความรู้ไม่พอ แต่ต้องเป็นมหาวิชชาที่นำคนออกจากโมหภูมิ

ลักษณะสังคม ๕ ประการ หรือ เบญจลักษณ์ดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นสังคมที่ขจัดความยากจน และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีพระมหาชนกจึงสามารถนำมาเป็นหลักในการทำยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนและการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้

๑. ตัวทำลายเศรษฐกิจพอเพียง

ตัวทำลายเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทุนนิยมข้ามชาติที่อาศัยโลภจริตเป็นตัวขับเคลื่อนและใช้อำนาจและเครื่องมือไปบีบบังคับให้ประเทศต่างๆ เปิดเสรีให้ทุนขนาดใหญ่เข้าไปทำการได้อย่างเสรี ก่อให้เกิดการทำลายเบญจลักษณ์ที่ กล่าวถึงข้างต้น กล่าวคือ

(๑) ทำลายเศรษฐกิจพอเพียง

ช่องว่างทางเศรษฐกิจถ่างกว้างมากขึ้นๆ

(๒) ทำลายสังคมพอเพียง

สังคมแตกสานซ่านเซ็น ตัวใครตัวมัน ทำร้ายแย่งชิงกัน

(๓) ทำลายทรัพยากรพอเพียง

ทำลายทรัพยากรเพื่อเปลี่ยนไปเป็นเงิน จะได้ดูดได้ง่าย ๆ

(๔) ทำลายปัญญาพอเพียง

ทำให้เกิดความโลภ แย่งชิงกันหวังพึ่งพิงต่างชาติ ไม่ใช้ความเพียร อันบริสุทธิ์ หวังรวยทางรัด

(๕) มีระบบการศึกษาที่ส่งเสริมให้คนทั้งปวงตกอยู่ในโมหภูมิ


แหล่งอ้างอิง

http://www.pyo.nu.ac.th



ไม่มีความคิดเห็น: