วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอ เพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียรพยายามมีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี” (เกษม วัฒนชัย,2548,

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ประวัติของเศรษฐกิจพอเพียง

ที่มาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517และภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ได้ ทรงเน้นย้ำเป็นแนวทางการแก้ไขเพื่อใหรอดพ้นและสามารถดำรงได้อย่างมั่นคงและ ยั่งยืนภายใต้และโลกาภิวัฒน์

และความเปลี่ยนแปลงต่างๆแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ ฉบับที่9( พ.ศ. 2545-2549) และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง''ปรัชญาของความเศรษฐกิจพอเพียง'' เมื่อวันที่22 ต.ค. 2542

ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง

พระราชดำรัส ใครว่าเราเชยก็ช่างเขา

ขอให้เราพออยู่พอกินและมีไมตรีจิตต่อกัน

เชย = ไม่โมเดิร์น

พออยู่พอกิน = พอเพียง ไม่จนกันทั่วหน้า

โมเดิร์น หมายถึง เศรษฐกิจกระแสหลักที่สร้างความร่ำรวย

เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นทั้ง

๑) แนวทาง ที่ไม่ใช่แนวทางสร้างความร่ำรวย แต่เป็นแนวทางแห่งความพอเพียง หรือแนวทางขจัดความยากจน

๒) บอกสภาพว่าหายจนกันทั่วหน้า พออยู่พอกิน

๓) ไม่ใช่เฉพาะเศรษฐกิจแบบตัวใครตัวมันเท่านั้น แต่เป็นสังคมที่มีไมตรีจิตต่อกันด้วย

เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็น ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนิน ชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ

อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่หลากหลายและไม่ชัดเจน ถึงความหมายและหลักแนวคิดที่แท้จริงของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้จัดทำหนังสือเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไรขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะอธิบายความหมายของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งกรอบแนวคิดของหลักปรัชญาฯ ที่มุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะ ที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ตลอดจนได้อธิบายคำนิยามของความพอเพียง ที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม

ลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงจึงมีความพอเพียง ๕ ดังนี้

(๑) เศรษฐกิจพอเพียง

หายจน พออยู่พอกินถ้วนหน้า

(๒) สังคมพอเพียง

คิดถึงการอยู่ร่วมกัน ไม่ใช่ตัวใครตัวมัน มีไมตรีจิตต่อกัน เป็นสังคม รู้รักสามัคคี ไม่เบียดเบียนและทำร้ายกัน

(๓) ทรัพยากรธรรมชาติพอเพียง

อนุรักษ์และเพิ่มพูนทรัพยากรธรรมชาติ มีการใช้อย่างเป็นธรรม และยั่งยืน

(๔) มีปัญญาพอเพียง

ไม่โลภ มีไมตรีจิต พึ่งตนเอง วิริยะ อนุรักษ์ทรัพยากร

(๕) มีระบบการศึกษาที่สร้างปัญญาพอเพียง (มหาวิชชา) อย่างต่อเนื่อง

ต้องมีระบบการศึกษาที่ป้องกันคนกลับไปตกอยู่ในโมหภูมิอีก การมีแค่มหาวิทยาลัยสอนความรู้ไม่พอ แต่ต้องเป็นมหาวิชชาที่นำคนออกจากโมหภูมิ

ลักษณะสังคม ๕ ประการ หรือ เบญจลักษณ์ดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นสังคมที่ขจัดความยากจน และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีพระมหาชนกจึงสามารถนำมาเป็นหลักในการทำยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนและการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้

๑. ตัวทำลายเศรษฐกิจพอเพียง

ตัวทำลายเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทุนนิยมข้ามชาติที่อาศัยโลภจริตเป็นตัวขับเคลื่อนและใช้อำนาจและเครื่องมือไปบีบบังคับให้ประเทศต่างๆ เปิดเสรีให้ทุนขนาดใหญ่เข้าไปทำการได้อย่างเสรี ก่อให้เกิดการทำลายเบญจลักษณ์ที่ กล่าวถึงข้างต้น กล่าวคือ

(๑) ทำลายเศรษฐกิจพอเพียง

ช่องว่างทางเศรษฐกิจถ่างกว้างมากขึ้นๆ

(๒) ทำลายสังคมพอเพียง

สังคมแตกสานซ่านเซ็น ตัวใครตัวมัน ทำร้ายแย่งชิงกัน

(๓) ทำลายทรัพยากรพอเพียง

ทำลายทรัพยากรเพื่อเปลี่ยนไปเป็นเงิน จะได้ดูดได้ง่าย ๆ

(๔) ทำลายปัญญาพอเพียง

ทำให้เกิดความโลภ แย่งชิงกันหวังพึ่งพิงต่างชาติ ไม่ใช้ความเพียร อันบริสุทธิ์ หวังรวยทางรัด

(๕) มีระบบการศึกษาที่ส่งเสริมให้คนทั้งปวงตกอยู่ในโมหภูมิ


แหล่งอ้างอิง

http://www.pyo.nu.ac.th



ประโยชน์เศรษฐกิจพอเพียง

ประโยชน์เศรษฐกิจพอเพียง

1. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยากและเลี้ยงตนเอง
ได้ตามหลักปรัชญาของ “เศรษฐกิจพอเพียง”
2. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่าง ๆ ที่ใช้น้ำน้อยได้
โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน
3. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปีทฤษฎีใหม่น้ำก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยขึ้นได้
4. ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตนเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการ
ไม่ต้องช่วยเหลือมากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย

ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ผมได้นำเศรษฐกิพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ
ปลูกผัหสวนครัวไว้กินเอง คือ ผักกาด (กะจ้อน) ผมได้สศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ
ผัก(กะจ้อน) ดังนี้


ชื่อพื้นเมือง :ผักกาดจ้อน
ชื่อผัก : ผักกาดกวางตุ้ง
ประโยชน์ :กินเป็นผักสด หรือใช้แกง ต้นอ่อนนิยมทำส้าผัก
ใช้ทำอาหาร : ผักกาดจอ






อาหารล้านนา -> ผักกาดจอ
แกงผักกาดจอ เป็นแกงผักกาดกวางตุ้ง ให้รสอร่อยและมากไปด้วยคุณค่าทางอาหาร นิยมรับประทานกับพริกแห้งทอด
ผักกาดจอ
เครื่องปรุง
หมูสามชั้น กระดุกซี่โครง 2 - 3 ชีด
ผักกวางตุ้ง (ผักกาดจ้อน)
น้ำมันพืช
กระเทียมสำหรับเจียว 2 หัว
เครื่องแกง
พริกแห้ง 2 - 3 เม็ด
กระเทียม 1 หัว
หอมหัวแดง 2 หัว
กะปิ 1 ช้อนชา
น้ำมะขามเปียก พอประมาณ
วิธีการปรุง
  1. โขลกเครื่องแกงเข้าด้วยกันพักไว้
  2. ล้างผักให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นๆ พอคำ
  3. ตั้งน้ำในหม้อให้เดือด ใส่เครื่องแกงที่โขลกแล้วลงไป ใส่หมูสามชั้นและซี่โครง ต้มให้เปื่อย
  4. ใส่ผักกาดลงไป คนให้ทั่ว เติมรสด้วยน้ำมะขามเปียก ให้มีรสเปรี้ยวพอประมาณ
  5. เมื่อผักสุกยกหม้อลง เจียวกระเทียมในกระทะ แล้วเทแกงจากหม้อลงไปในกระทะ คนให้ทั่วพอหอม แล้วยกลงตักรับประทานได้

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สรุป fiel trip

ในตอนเช้าของวันที่ 8-9 พฤศจิกายนเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ออกเดินทางเวลา 07.00น.และไปถึง เวลา 09.20น.และพี่วิทยากรก็ได้เชิญท่านประธ
านมาเปิดพิธีการเข้าพักแรมที่ศูนย์ฯ และพี่วิทยากร ก็พาไปเล่นกิจกรรมต่างๆและพอเล่นกิจกรรมเสร็จพี่วิทยากรก็พาไปฝึกระเบียบแถว พอฝึกเสร็จ ก็ไปรับประทานอาหารกลางวันและพี่วิทยากรก็พาไปที่ห้องพักและก็ไปชมวีดีทัสน์ ของศูนย์ฯ ที่อาคารนิทรรศการและก็ไปศึกษาเกี่ยวกับทฎีใหม่และก็ไปโรงเพาะเห็ดและก็ไป ศึกษาเกี่ยวกับปุ๋ย ที่ทำมาจากธรรมชาติและก็ไปที่ห้องพักแล้วก็ไปอาบน้ำและก็ไปเข้านอนพอตื่นมา ก็ไปรับประทานอาหารเช้า และก็ไปดูการปั้นดินแล้วก็ไปฝึกการทำกระดาษสาและก็ไปไถนาและก็ไปเอากระเป๋า ออกจากห้องพักและก็ไป เล่นฐานพอเล่นเสร็จก็ไปอาบน้ำและก็กลับบ้าน