วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ฟุตบอล (football) หรือ ซอกเกอร์ (soccer) เป็นกีฬาที่เล่นเป็นทีมระหว่างสองฝ่าย ฝ่ายละ 11 คน ซึ่งฟุตบอลนั้นนับว่าเป็นกีฬาที่นิยมมากที่สุดในโลกกีฬาหนึ่ง กีฬาฟุตบอลจะเล่นภายในสนามฟุตบอลที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีผู้รักษาประตูยืนอยู่ที่ตำแหน่งปลายสุดของสนามในแต่ละด้าน ในระหว่างการแข่งขัน ทั้งสองฝ่ายพยายามเตะลูกฟุตบอลเข้าสู่เขตประตูของฝ่ายตรงข้าม เมื่อหมดเวลาการแข่งขันฝ่ายที่ได้คะแนนสูงกว่าจะเป็นผู้ชนะ ซึ่งถ้าคะแนนเท่ากันอาจจะมีการตัดสินให้เสมอ หรืออาจจะให้มีการต่อเวลาพิเศษหรือทำการยิงลูกโทษตัดสิน ฟุตบอลนิยมเล่นโดยใช้เท้าเป็นหลัก (ยกเว้นผู้รักษาประตู) และผู้เล่นสามารถใช้ส่วนอื่นของร่างกายเพื่อช่วยในการเล่นได้ไม่ว่าใช้หัวโหม่งลูกบอลหรือใช้ลำตัวพักบอล แต่ห้ามให้มือและส่วนแขนที่ต่ำกว่าศอกลงมา ยกเว้นผู้เล่นในตำแหน่งผู้รักษาประตูซึ่งสามารถใช้มือได้เมื่ออยู่ในเขตประตูของฝ่ายตัวเอง
ฟุตบอลอังกฤษเป็นต้นกำเนิดของฟุตบอลในปัจจุบัน โดยกฎกติกาส่วนใหญ่ถูกกำหนดขึ้นในปี พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) และต่อมากติกาฟุตบอลได้อยู่ภายใต้การดูแลของ ฟีฟ่า หรือสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ที่เป็นองค์กรระดับนานาชาติที่มีการจัดแข่งขันฟุตบอลที่สำคัญหลายรายการ ที่สำคัญได้แก่ ฟุตบอลโลก ฟุตบอลเยาวชนโลก ฟุตบอลสโมสรโลก และการแข่งขันอื่นในระดับภูมิภาค
ประวัติตะกร้อ ในประเทศไทย*
ประวัติ ในประเทศไทย
ในสมัยโบราณนั้นประเทศไทยเรามีกฎหมายและวิธีการลงโทษผู้กระทำความผิด โดยการนำเอานักโทษใส่ลงไปในสิ่งกลมๆที่สานด้วยหวายให้ช้างเตะ แต่สิ่งที่ช่วยสนับสนุนประวัติของตะกร้อได้ดี คือ ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ 2 ในเรื่องมีบางตอนที่กล่าวถึงการเล่นตะกร้อ และที่ระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเขียนเรื่องรามเกียรติ์ ก็มีภาพการเล่นตะกร้อแสดงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้
โดยภูมิศาสตร์ของไทยเองก็ส่งเสริมสนับสนุนให้เราได้ทราบประวัติของตะกร้อ คือประเทศของเราอุดมไปด้วยไม้ไผ่ หวายคนไทยนิยมนำเอาหวายมาสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้ รวมถึงการละเล่นพื้นบ้านด้วย อีกทั้งประเภทของกีฬาตะกร้อในประเทศไทยก็มีหลายประเภท เช่น ตะกร้อวง ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อชิงธงและการแสดงตะกร้อพลิกแพลงต่างๆ ซึ่งการเล่นตะกร้อของประเทศอื่นๆนั้นมีการเล่นไม่หลายแบบหลายวิธีเช่นของไทยเรา การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า , หนังสัตว์ , หวาย , จนถึงประเภทสังเคราะห์ ( พลาสติก )
ความหมาย คำว่าตะกร้อ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ . ศ . 2525 ได้ให้คำจำกัดความเอาไว้ว่า " ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา สำหรับเตะ " วิวัฒนาการการเล่น
การเล่นตะกร้อได้มีวิวัฒนาการในการเล่นมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยแรกๆ ก็เป็นเพียงการช่วยกันเตะลูกไม่ให้ตกถึงพื้นต่อมาเมื่อเกิดความชำนาญและหลีกหนีความจำเจ ก็คงมีการเริ่มเล่นด้วยศีรษะ เข่า ศอก ไหล่ มีการจัดเพิ่มท่าให้ยากและสวยงามขึ้นตามลำดับ จากนั้นก็ตกลงวางกติกาการเล่นโดยเอื้ออำนวยต่อผู้เล่นเป็นส่วนรวม อาจแตกต่างไปตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ แต่คงมีความใกล้เคียงกันมากพอสมควร
ตะกร้อนั้นมีมากมายหลายประเภท เช่น
- ตะกร้อข้ามตาข่าย - ตะกร้อลอดบ่วง - ตะกร้อพลิกแพลงเป็นต้น
เมื่อมีการวางกติกาและท่าทางในการเล่นอย่างลงตัวแล้วก็เริ่มมีการแข่งขันกันเกิดขึ้นในประเทศไทยตาม ประวัติของการกีฬาตะกร้อตั้งแต่อดีตที่ได้บันทึกไว้ดังนี้
พ . ศ . 2472 กีฬาตะกร้อเริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกภายในสมาคมกีฬาสยาม
พ . ศ . 2476 สมาคมกีฬาสยามประชุมจัดร่างกติกาในการแข่งขันกีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายและเปิดให้มีการแข่งขันในประเภทประชาชนขึ้นเป็นครั้งแรก
พ . ศ . 2479 ทางการศึกษาได้มีการเผยแพร่จัดฝึกทักษะในโรงเรียนมัธยมชายและเปิดให้มีแข่งขันด้วย
พ . ศ . 2480 ได้มีการประชุมจัดทำแก้ไขร่างกฎระเบียบให้สมบูรณ์ขึ้น โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของ เจ้าพระยาจินดารักษ์ และกรมพลศึกษาก็ได้ออกประกาศรับรองอย่างเป็นทางการ
พ . ศ . 2502 มีการจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 ขึ้นที่กรุงเทพฯ มีการเชิญนักตะกร้อชาวพม่ามาแสดงความสามารถในการเล่นตะกร้อพลิกแพลง
พ . ศ . 2504 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 2 ประเทศพม่าได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขัน นักตะกร้อของไทยก็ได้ไปร่วมแสดงโชว์การเตะตะกร้อแบบพลิกแพลงด้วย
พ . ศ . 2508 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย ได้มีการบรรจุการเตะตะกร้อ 3 ประเภท เข้าไว้ในการแข่งขันด้วยก็คือ
- ตะกร้อวง - ตะกร้อข้ามตาข่าย - ตะกร้อลอดบ่วง
อีกทั้งมีการจัดประชุมวางแนวทางด้านกติกาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อสะดวกในการเล่นและการเข้าใจของผู้ชมในส่วนรวมอีกด้วย
พอเสร็จสิ้นกีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 กีฬาตะกร้อได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก บทบาทของประเทศมาเลเซียก็เริ่มมีมากขึ้น จากการได้เข้าร่วมในการประชุมตั้งกฎกติกากีฬาตะกร้อประเภทข้ามตาข่าย หรือที่เรียกว่า " เซปักตะกร้อ " และส่งผลให้กีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย ได้รับการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 จนถึงปัจจุบัน